วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 11 Friday 24 April 2020

TS8] "ร้านข้าวแกง KangsomKS" มื้อที่ 1106 : KSFC พรุ่งนี้แล้วไป ...
Learning Log 11

Friday 24 April 2020
📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙


💫 บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 💫

📢การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
                    การจัดสภาพแวดล้อมๆในสถานศึกษาปฐมวัยทั้งภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้รับประสบการณ์จากการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำกิจกรมร่วมกันอย่างมีความสุข สนุก สบาย สะดวก ปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

📢การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
                    การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย  โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

📢การวัดประเมินผล
                    เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็ก หรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

📢การให้ความสนใจเด็ก
                    ไม่เน้นเพียงเรื่องความรู้หรือเนื้อหาวิชา แต่เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ได้แก่พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา

📢การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์
มีความสำคัญและจำเป็นไม่ใช่มีอะไรก็ให้เด็กใช้ได้ทั้งหมด เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและต้องเตรียม คัดเลือกสื่อ วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมในแต่ละครั้งที่จัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมีอย่างหลากหลาย สื่อวัสดุมีทั้งวัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุที่ทำขึ้นเอง สำหรับครูปฐมวัยจำเป็นต้องนำสื่อวัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

📛 บทบาทครูปฐมวัย 📛

                    เด็กปฐมวัยมีความสำคัญและมีความแตกต่างกับเด็กในระดับอื่นทั้งด้านพุทธพิสัย เจตคติพิสัยและทักษะนิสัย  การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ครูปฐมวัยจึงมีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กดังนี้

1.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  ครูต้องจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่  การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็ก การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

2.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ  ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ชื่นชมสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม  ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ เล่นเป็นกลุ่ม เล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรีง่าย ๆ  มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเสียงดนตรี และมีคุณธรรมจริยธรรม

3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม  ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางสังคม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตน การเล่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ปัญหาในการเล่น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  การเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น  การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่และความเป็นไทย

4.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักการคิด การสังเกต การจำแนก  การเปรียบเทียบจำนวนมิติสัมพันธ์ เวลา และการให้เด็กรู้จักใช้ภาษาแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด การพูดกับผู้อื่น การอธิบายเรื่องราว การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก อ่านภาพหรือสัญลักษณ์จากหนังสือนิทาน/เรื่องราวที่สนใจ

5.  เป็นผู้สร้างเสริมสมาธิ ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น กิจกรรมสร้างสรรค์ การร้อยลูกปัด การวาดภาพสีน้ำ สีเทียน กิจกรรมเล่นอิสระตามมุมต่าง ๆ


                    ถือได้ว่าบทบาทของครูปฐมวัยมีผลหรือเรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กใน ทุกด้าน  เป็นผู้วางรากฐานที่สำคัญต่อการเรียนรู้ที่เห็นได้ง่าย อย่างเช่น การมีสมาธิ ถ้าครูปฐมวัยรู้จักการให้เด็กมีสมาธิด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดินบนคาน การเข้าไปในมุมหนังสือ การทำงานประดิษฐ์ การเล่านิทาน ฯลฯ เด็กได้รับการฝึกดังกล่าว เด็กสามารถที่จะมีสมาธิ โดยรู้จักปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อโตขึ้น เช่น เด็กรู้จักการฟังเนื้อหา เรื่องราวที่ครูพูดและจับใจความได้  เข้าห้องประชุมแล้วรู้จักเงียบ ไม่คุยตลอดส่งเสียงดังขณะประชุม อ่านหนังสือได้เวลานานและเข้าใจพฤติกรรมดังกล่าวหากไม่ได้รับการฝึกในช่วงปฐมวัยจะยากที่จะฝึกในช่วงเป็นวัยผู้ใหญ่ การมีสมาธิที่ยกตัวอย่างเป็นเพียงเรื่องที่บางคนเห็นว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญ โดยความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญและเกี่ยวพันต่อเนื่องกับการเรียนรู้ของเด็ก การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ฉะนั้นครูปฐมวัยเป็นผู้ที่วางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กซึ่งเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องทำและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดยั้งเพราะเด็กเขาจะเติบโตและพัฒนาทุกวินาที
📍 http://krudee1234.blogspot.com/2013/12/blog-post.html

🍑 การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 🍑


  • สอนให้เด็กได้รู้จักคิด คิดเป็น คิดหลายๆ แง่ และสามารถคิดแก้ปัญหาได้สำเร็จ
  • กระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
  • ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  • ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการถาม และสนใจต่อคำถามของเด็ก
  • นำวิธีการสอนที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
  • สนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางความคิดในเชิงสร้างสรรค์
  • สร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระ
  • จัดสภาพห้องเรียนให้ดูแปลกใหม่อยู่เสมอ
  • ไม่ควรกำหนดรูปแบบความคิดและบุคลิกภาพของเด็กมากเกินไป


  • 🍷 คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย 🍷


  • มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
  • เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
  • ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างรอบด้านสนใจกิจกรรมต่างๆ หลายๆ อย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ 
  • อารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญของคนมีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
  • สุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู
  • คุณสมบัติส่วนตัวของครูสอนเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นคนที่มีรสนิยมดีการแต่งกายประณีต สวยงาม เหมาะสมกับวัย



  • 🍔 การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 🍔

     1. การจำแนกชนิดของปัญหาที่จะให้นักเรียนแก้ความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ซึ่งครูได้เตรียมปัญหาไว้ให้ แต่ไม่บอกวิธีการแก้ปัญหาแก่ นักเรียน และจากสถานการณ์ดังกล่าวจึงจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ไม่บอกทั้งปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาแก่นักเรียนถ้านักเรียนรู้สถานการณ์ของปัญหามากน้อยเท่าไร นักเรียนก็จะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
    2. ให้นักเรียนพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยวิธีระดมพลังสมอง (Brainstorming) การตั้งสมมติฐาน และทดสอบสมมติฐาน
    3. การให้รางวัลเมื่อนักเรียนสามารถทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์
    4. ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ
    5. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้
    6. เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน
    7. ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลากหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
    8. ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู้การคิด การกระทำอย่างสร้างสรรค์
    👉 จากนัั้นอาจารย์ให้ตอบคำถามในแบบฝึกหัดที่ 9 ภายในเวลาที่กำหนด 2 ข้อ ดังนี้ 👇

    👻 แบบฝึกหัดบทที่ 9 👻

    1. ใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเพราะเหตุใด
    ตอบ 1.1 พ่อแม่เพราะเป็นคนที่อยู่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด เป็นผู้จัดหาสื่ออุปกรณ์และสร้างบรรยากาศให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากที่สุด 
    1.2 คุณครูเพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กและสามารถเห็นพัฒนาการของเด็กทางด้านความคิดสร้างสรรค์ได้มากที่สุดนับตั้งแต่เด็กเข้าเริ่มเรียนการวัดความคิดสร้างสรรค์คุณครูควรดูจากเกณฑ์ตามวัยที่เด็กควรจะมีในช่วงอายุนั้นๆ
    2. แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์กับการวัดและประเมินผลความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอย่างไร
    ตอบ แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการเก็บรวบรวมผลงานของเด็กให้เด็กได้ดูงานของตนเองได้เห็นผลงานของเด็กที่แตกต่างกันและสามารถประเมินได้โดยดูจากผลงานสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคนได้

    🌸 สื่อจากธรรมชาติ 🌸





    🍉 สรุป 🍉

                   ความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นความคิดที่สามารถในการสังเคราะห์สามารถในวิเคราะห์และและมีความสามารถในนำไปปฏิบัติได้มีลักษณะเป็นความรวมความคิดหลายทางและมีลักษณะคล้ายๆกับกระบวนการแก้ ปัญหามีความแตกต่างเพียงกระบวนการแก้ปัญหามีนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เด่นชัดเฉพาะเรื่องแต่กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำเป็นที่บุคคลจะต้องรู้จักจินตนาการและถ้าขาดจินตนาการก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางความคิดสร้างสรรค์ได้ความคิดสร้างสรรค์ประการสำคัญผู้คิดนั้นจะต้องไม่ทุกข์ไม่มีความรู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกบีบคั้น คิดตามความเป็นจริง คิดตรงกับสภาพแห่งตามที่เป็นจริงนั้น ในความคิดสร้างสรรค์จะต้องสร้างความสุขด้วย

    🌻 วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์จากเอกสารบทที่ 2 🌻

    ตอบ ดิลฟอร์ด - ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่มความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความสามารถในการแต่งเติมและให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลักเหตุผลเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์คือความคิดริเริ่ม เพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์ที่บุคคลจะมี แต่เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งมีมากน้อยไม่เท่ากัน แต่บุคคลแสดงออกมาในระดับที่ต่างกัน
    สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง - เริ่มที่ผู้เรียนต้องอยากจะรู้อยากจะเรียนจึงจะเป็นตัวเร่งให้เขาขับเคลื่อน ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนเป็นแรงจูงใจให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ การเรียนรู้เป็นทีมจะดีกว่าการเรียนรู้คนเดียว และที่สำคัญต้องเป็นการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ไม่ใช่การสอน
    เชิงจิตวิเคราะห์ - มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและเป็นผู้กำหนดชีวิตของตนเอง เนื่องจากประสบการณ์ส่วนใหญ่ของชีวิตอารมณ์ความเชื่อความรู้สึกและแรงขับที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ถูกเก็บไว้ภายในจิตใต้สำนึกที่มนุษย์เข้าถึงได้ถือเป็นส่วนเล็กน้อยของภาพรวมของจิตของบุคคลเท่านั้น
    พฤติกรรมนิยม – พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้พฤติกรรมใดละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่างแรงเสริมช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
    มนุษย์นิยม – ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงามมีความสามารถมีความต้องการและมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตนหากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
    โอต้า – ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่มีอยู่ในบุคคลทุกคนและสามารถที่จะพัฒนาให้สูงขึ้นได้โดยอาศัยการเรียนรู้และการจัดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยเปิดโอกาสให้คิดและหาประสบการณ์ใหม่ๆที่เกี่ยวกับการคิดการกระทำที่สร้างสรรค์ต่อไป
    โยงความสัมพันธ์ – การที่ผู้เรียนรู้สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองและได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
    วอลลาส - ความคิดสร้างสรรค์จากกระบวนการของการคิดสิ่งใหม่ๆโดยการลองผิดลองถูก โดยมีด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นได้แก่ 1 ขั้นเตรียม 2 ขั้นคิดครุกกรุ่น 3 คันคิดกระจ่างชัด 4 ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง
    ทอแรนซ์ - เป็นกระบวนการที่บุคคลวัยตอปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ไม่ประสานกันและไวต่อการแยกแยะ สิ่งต่างๆไว้ต่อการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ไวต่อการคาดเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ทดสอบและทดสอบอีกเกี่ยวกับสมมติฐานจนในที่สุดสามารถนำเอาผลที่ได้ไปแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่นได้
    ปิด]รับสมัครทำ Intro ของช่องแคสเกมส์ใน Youtube [อ่านรายละเอีด ...




    วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

    Learning Log 10 Friday 17 April 2020

    แจกของแต่งกระทู้ทำเองจ้า (อัพแล้วครั้งที่2)
    Learning Log 10

    Friday 24 April 2020
    📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙


    💌 สมองกับความสำคัญ 💌

                   หน้าที่สำคัญของสมอง คือ ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน เช่น การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น การพูด การเขียน การใช้ภาษามือ ล้วนต้องใช้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ระบบประสาทสัมผัส การจดจำ การคิด ต่างมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อมันใช้เป็นแรงขับดันให้เกิดการเคลื่อนที่ หรือหยุดการเคลื่อนที่

    💐 การทำงานของสมอง 💐

                   สมองของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่น เครือข่ายการเชื่อมโยงของเซลล์สมองจึงเพิ่มขึ้น ซับซ้อนขึ้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา 

                   ยิ่งการเชื่อมโยงของเซลล์สมองซับซ้อนมากเท่าไหร่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหายากๆ หรือที่เรียกว่า “ความฉลาด” ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น  

                   สมองแบ่งเป็นหลายส่วน และแต่ละส่วนก็ทำหน้าที่รับรู้ และตอบสนองแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งส่วนของสมองได้คร่าวๆ 3 ส่วน ได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
    พัฒนาการสมองของเด็กวัย 3 - 6 ปี
    พัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง

    • สมองส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
    • สมองส่วนรับความรู้สึกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระยะนี้
    • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ พัฒนาชัดเจนขึ้น
    • การกระตุ้นโดยสัมผัสจะช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันของส่วนรับสัมผัสของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
    • เมื่อสถานีรับข้อมูลจากภายนอกพัฒนาได้เร็ว ก็จะส่งผ่านข้อมูลไปกระตุ้นการทำงานของระบบอื่นๆ ในสมอง เช่น ส่วนความทรงจำ ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนที่ทำงานด้านอารมณ์
    • สมองมีตำแหน่งรับรู้ต่างๆ มากมายเมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงาน ก็มีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาเด็กด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหวจึงนับเป็นการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน และเสริมซึ่งกันและกัน
    • การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นโดยกระบวนการ myelination ทำให้ระบบรับความรู้สึก (sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว (motor) ทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก
    • Myelination ช่วยให้การพัฒนาความสามารถของเด็กมีความพร้อม เช่น myelination ในบริเวณของสมองที่มีหน้าที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตากับการใช้มือของเด็ก จะพร้อมก็ต่อเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 ปี พัฒนาการของสมองที่เชื่อมโยงกับโลกกว้าง นำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหลังจากความพร้อมนี้
    • การเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองและซีนแนปส์ ยิ่งเซลล์ส่งผ่านข้อมูลและเกิดจุดซีนแนปส์มากขึ้นเท่าใด เครือข่ายการเชื่อมต่อของวงจรกระแสประสาทก็ยิ่งประสานกระชับมากขึ้น

    👑 ความพร้อมที่สอดคล้องกับพัฒนาการโครงสร้างของสมอง 👑

    3 ขวบ
    เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ เด็กๆจะเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง กระโดด ปีน โหน ในวัยนี้การเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว เป็นสิ่งที่เด็กชื่นชอบและเป็นที่มาแห่งความภาคภูมิใจ

    4 ขวบ
    อายุ 4 ขวบ เป็นต้นไป แม้เด็กจะพอใจกับกิจกรรมเคลื่อนไหว แต่เขาต้องการให้มีบรรยากาศผจญภัย ดังนั้นท่วงท่าในเชิงยิมนาสติกจะปรากฏตัวออกมา

    5 ขวบ
    พออายุ 5 ขวบขึ้นไป การเคลื่อนไหวยังเต็มไปด้วยพละกำลัง และสนุกสนานยิ่งขึ้น เด็กชอบเล่นการเคลื่อนไหวแบบงู แบบช้าง ไดโนเสาร์ กบ จิงโจ้ ม้า เป็ด ชอบเล่นขับรถไฟ ขับรถยนต์ เครื่องบิน
    📞 กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการของสมอง 📞

    • ฝึกให้เด็กตั้งประเด็นคำถามและคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สมองฝึกฝนเชื่อมโยงวงจรแห่งความรู้ในสมองหลายๆ ทาง เพื่อสร้างจุดซีนแนปส์ (synapse) ที่จำเป็นในสมอง สำหรับรองรับกระบวนการคิดที่รอบด้าน
    • นำเด็กเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง เด็กจะได้เรียนรู้ความหมายของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ อารมณ์ถูกขับเคลื่อน ทำให้สมองเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ให้เด็กได้ทำการศึกษา สำรวจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ดูว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เช่น เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น จากเปียกเป็นแห้ง หรือจากอ่อนเป็นแข็ง เป็นต้น
    • ให้เด็กได้ฝึกใช้คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และสังคม เช่น คำว่า อำนาจ ทุกข์ ระบาด ซ้ำซ้อน โรค อุณหภูมิ ฯลฯ เป็นการทบทวนชุดความเข้าใจ ซึ่งเป็นการใช้วงจรร่างแหของเซลล์สมอง การสร้างความสัมพันธ์ของวงจรชุดนี้กับการทำงานของสมองหลายส่วนพร้อมกัน เช่นวงจรภาษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ความจำเป็นสิ่งจำเป็นในการก่อรูปความเข้าใจ ความเข้าใจเชิงนามธรรมขั้นต่อไป
    • ให้เด็กได้รับรู้สัมผัสของจริงที่มีขนาด น้ำหนัก ผิว รูปทรงต่างๆ และมุ่งพัฒนาความสามารถในการรับภาพสามมิติ
    • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้จับต้องของเล่นนานาชนิด ได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบๆ บ้าน การรับรู้ข้อมูลและสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมนี้ จะย้อนเข้าไปพัฒนาสมองเด็ก ความหลากหลายที่ว่านี้ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมประเภทโทรทัศน์ หรือวีดีโอเกม ซึ่งไม่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์
    • ให้เด็กมีประสบการณ์สนุกสนานกับการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ทักษะที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เช่น การคลาน การกลิ้ง การวิ่ง การปีน การโยก การเด้ง การกระโดดหกคะเมนตีลังกา
    • ให้เด็กมีโอกาสฝึกฝนการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น การกระโดดเชือก การเลี้ยงลูกบอล
    • ให้เด็กมีโอกาสใช้ทักษะเสถียรภาพ เช่น สมดุล งอ ยืด บิด
    • การพัฒนาให้เด็กได้เล่นเกมกีฬาที่หลากหลายเพียงพอ จะช่วยพัฒนาร่างกายและสมองครบทุกด้าน กิจกรรมที่ครบถ้วนจะไปพัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับประสาทต่างๆ ของการรับความรู้สึก โดยเฉพาะสมองส่วนเซรีเบลลัมที่รับผิดชอบเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวให้เรียบลื่น
    • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องมิติ
    • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงของวัตถุและสิ่งของ
    • ให้เด็กสร้างและพัฒนามุมมอง โดยใช้ภาพ 2 มิติ เช่น แผนผัง ภาพถ่าย สร้างวัตถุ 3 มิติ เช่น สร้างโมเดลจากภาพ ต่อบล็อก ก่อเจดีย์ทราย ปั้นดินเหนียว พับกระดาษ
    • ให้เด็กได้มีโอกาสมองวัตถุในหลากหลายมิติ รวมทั้งมีโอกาสลองใช้แว่นขยาย
    • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะสิ่งที่ก่อรูปเป็นการคิดของเด็ก เริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง การตอบคำถามในแบบฝึก การทำแบบฝึกหัด เป็นกระบวนการถัดไปหลังจากวงจรแห่งประสบการณ์ได้สร้างขึ้นแล้ว
    • ให้เด็กศึกษาการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ว่าเคลื่อนที่อย่างไร และเพราะอะไรจึงเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนที่โดยการเป่า ผลัก ดึง กลิ้ง แกว่ง โยน เด็กควรได้ลองทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่โดยใช้มือ เท้า เป่าลม ดัน ดึง เป็นต้น
    • ให้เด็กได้ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ในการสำรวจการเคลื่อนที่ เช่น ล้อ ลูกรอก แม่เหล็ก ชิงช้า เป็นต้น การเรียนรู้การเคลื่อนที่จากการฟังเรื่องเล่าและการอ่านเป็นสิ่งตามมาภายหลัง
    👉 จากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ 2 อย่างคือ ทำคลิปโยคะสำหรับเด็กปฐมวัยและคลิปเพลงท่าเต้นสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

    👼 คลิปโยคะสำหรับเด็กปฐมวัย 👼


    💋 คลิปเพลงท่าเต้นสำหรับเด็กปฐมวัย 💋




    AF11]***สาวน้อยจั๊กจั่นเสียงใส<V3>บ้านเสียงเพลงแห่งป่าใหญ่ #13 ...

    Learning Log 9 Friday 17 April 2020

    แจกของแต่งกระทู้ทำเองจ้า (อัพแล้วครั้งที่2)
    Learning Log 9

    Friday 17 April 2020

    📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙

    💌 สมองกับความสำคัญ 💌

                   หน้าที่สำคัญของสมอง คือ ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน เช่น การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น การพูด การเขียน การใช้ภาษามือ ล้วนต้องใช้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ระบบประสาทสัมผัส การจดจำ การคิด ต่างมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อมันใช้เป็นแรงขับดันให้เกิดการเคลื่อนที่ หรือหยุดการเคลื่อนที่

    💐 การทำงานของสมอง 💐

                   สมองของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่น เครือข่ายการเชื่อมโยงของเซลล์สมองจึงเพิ่มขึ้น ซับซ้อนขึ้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา 

                   ยิ่งการเชื่อมโยงของเซลล์สมองซับซ้อนมากเท่าไหร่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหายากๆ หรือที่เรียกว่า “ความฉลาด” ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น  

                   สมองแบ่งเป็นหลายส่วน และแต่ละส่วนก็ทำหน้าที่รับรู้ และตอบสนองแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งส่วนของสมองได้คร่าวๆ 3 ส่วน ได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
    พัฒนาการสมองของเด็กวัย 3 - 6 ปี
    พัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง

    • สมองส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
    • สมองส่วนรับความรู้สึกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระยะนี้
    • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ พัฒนาชัดเจนขึ้น
    • การกระตุ้นโดยสัมผัสจะช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันของส่วนรับสัมผัสของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
    • เมื่อสถานีรับข้อมูลจากภายนอกพัฒนาได้เร็ว ก็จะส่งผ่านข้อมูลไปกระตุ้นการทำงานของระบบอื่นๆ ในสมอง เช่น ส่วนความทรงจำ ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนที่ทำงานด้านอารมณ์
    • สมองมีตำแหน่งรับรู้ต่างๆ มากมายเมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงาน ก็มีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาเด็กด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหวจึงนับเป็นการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน และเสริมซึ่งกันและกัน
    • การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นโดยกระบวนการ myelination ทำให้ระบบรับความรู้สึก (sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว (motor) ทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก
    • Myelination ช่วยให้การพัฒนาความสามารถของเด็กมีความพร้อม เช่น myelination ในบริเวณของสมองที่มีหน้าที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตากับการใช้มือของเด็ก จะพร้อมก็ต่อเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 ปี พัฒนาการของสมองที่เชื่อมโยงกับโลกกว้าง นำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหลังจากความพร้อมนี้
    • การเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองและซีนแนปส์ ยิ่งเซลล์ส่งผ่านข้อมูลและเกิดจุดซีนแนปส์มากขึ้นเท่าใด เครือข่ายการเชื่อมต่อของวงจรกระแสประสาทก็ยิ่งประสานกระชับมากขึ้น

    👑 ความพร้อมที่สอดคล้องกับพัฒนาการโครงสร้างของสมอง 👑

    3 ขวบ
    เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ เด็กๆจะเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง กระโดด ปีน โหน ในวัยนี้การเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว เป็นสิ่งที่เด็กชื่นชอบและเป็นที่มาแห่งความภาคภูมิใจ

    4 ขวบ
    อายุ 4 ขวบ เป็นต้นไป แม้เด็กจะพอใจกับกิจกรรมเคลื่อนไหว แต่เขาต้องการให้มีบรรยากาศผจญภัย ดังนั้นท่วงท่าในเชิงยิมนาสติกจะปรากฏตัวออกมา

    5 ขวบ
    พออายุ 5 ขวบขึ้นไป การเคลื่อนไหวยังเต็มไปด้วยพละกำลัง และสนุกสนานยิ่งขึ้น เด็กชอบเล่นการเคลื่อนไหวแบบงู แบบช้าง ไดโนเสาร์ กบ จิงโจ้ ม้า เป็ด ชอบเล่นขับรถไฟ ขับรถยนต์ เครื่องบิน
    📞 กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการของสมอง 📞

    • ฝึกให้เด็กตั้งประเด็นคำถามและคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สมองฝึกฝนเชื่อมโยงวงจรแห่งความรู้ในสมองหลายๆ ทาง เพื่อสร้างจุดซีนแนปส์ (synapse) ที่จำเป็นในสมอง สำหรับรองรับกระบวนการคิดที่รอบด้าน
    • นำเด็กเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง เด็กจะได้เรียนรู้ความหมายของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ อารมณ์ถูกขับเคลื่อน ทำให้สมองเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ให้เด็กได้ทำการศึกษา สำรวจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ดูว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เช่น เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น จากเปียกเป็นแห้ง หรือจากอ่อนเป็นแข็ง เป็นต้น
    • ให้เด็กได้ฝึกใช้คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และสังคม เช่น คำว่า อำนาจ ทุกข์ ระบาด ซ้ำซ้อน โรค อุณหภูมิ ฯลฯ เป็นการทบทวนชุดความเข้าใจ ซึ่งเป็นการใช้วงจรร่างแหของเซลล์สมอง การสร้างความสัมพันธ์ของวงจรชุดนี้กับการทำงานของสมองหลายส่วนพร้อมกัน เช่นวงจรภาษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ความจำเป็นสิ่งจำเป็นในการก่อรูปความเข้าใจ ความเข้าใจเชิงนามธรรมขั้นต่อไป
    • ให้เด็กได้รับรู้สัมผัสของจริงที่มีขนาด น้ำหนัก ผิว รูปทรงต่างๆ และมุ่งพัฒนาความสามารถในการรับภาพสามมิติ
    • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้จับต้องของเล่นนานาชนิด ได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบๆ บ้าน การรับรู้ข้อมูลและสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมนี้ จะย้อนเข้าไปพัฒนาสมองเด็ก ความหลากหลายที่ว่านี้ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมประเภทโทรทัศน์ หรือวีดีโอเกม ซึ่งไม่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์
    • ให้เด็กมีประสบการณ์สนุกสนานกับการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ทักษะที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เช่น การคลาน การกลิ้ง การวิ่ง การปีน การโยก การเด้ง การกระโดดหกคะเมนตีลังกา
    • ให้เด็กมีโอกาสฝึกฝนการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น การกระโดดเชือก การเลี้ยงลูกบอล
    • ให้เด็กมีโอกาสใช้ทักษะเสถียรภาพ เช่น สมดุล งอ ยืด บิด
    • การพัฒนาให้เด็กได้เล่นเกมกีฬาที่หลากหลายเพียงพอ จะช่วยพัฒนาร่างกายและสมองครบทุกด้าน กิจกรรมที่ครบถ้วนจะไปพัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับประสาทต่างๆ ของการรับความรู้สึก โดยเฉพาะสมองส่วนเซรีเบลลัมที่รับผิดชอบเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวให้เรียบลื่น
    • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องมิติ
    • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงของวัตถุและสิ่งของ
    • ให้เด็กสร้างและพัฒนามุมมอง โดยใช้ภาพ 2 มิติ เช่น แผนผัง ภาพถ่าย สร้างวัตถุ 3 มิติ เช่น สร้างโมเดลจากภาพ ต่อบล็อก ก่อเจดีย์ทราย ปั้นดินเหนียว พับกระดาษ
    • ให้เด็กได้มีโอกาสมองวัตถุในหลากหลายมิติ รวมทั้งมีโอกาสลองใช้แว่นขยาย
    • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะสิ่งที่ก่อรูปเป็นการคิดของเด็ก เริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง การตอบคำถามในแบบฝึก การทำแบบฝึกหัด เป็นกระบวนการถัดไปหลังจากวงจรแห่งประสบการณ์ได้สร้างขึ้นแล้ว
    • ให้เด็กศึกษาการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ว่าเคลื่อนที่อย่างไร และเพราะอะไรจึงเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนที่โดยการเป่า ผลัก ดึง กลิ้ง แกว่ง โยน เด็กควรได้ลองทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่โดยใช้มือ เท้า เป่าลม ดัน ดึง เป็นต้น
    • ให้เด็กได้ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ในการสำรวจการเคลื่อนที่ เช่น ล้อ ลูกรอก แม่เหล็ก ชิงช้า เป็นต้น การเรียนรู้การเคลื่อนที่จากการฟังเรื่องเล่าและการอ่านเป็นสิ่งตามมาภายหลัง
    👉 จากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ 2 อย่างคือ ทำคลิปโยคะสำหรับเด็กปฐมวัยและคลิปเพลงท่าเต้นสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

    👼 คลิปโยคะสำหรับเด็กปฐมวัย 👼


    💋 คลิปเพลงท่าเต้นสำหรับเด็กปฐมวัย 💋


    AF11]***สาวน้อยจั๊กจั่นเสียงใส<V3>บ้านเสียงเพลงแห่งป่าใหญ่ #13 ...


    Learning Log 8 Friday 3rd April 2020

    Material2b

    Learning Log 8
    Friday 3rd April 2020


    📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙

    👉 วันนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่เราเรียนกันในแอปพลิเคชั่น ZOOM



    👉 อาจารย์ให้เตรียมกระดาษคนละ 2 แผ่น ในการทำกิจกรรม 👇

    💖 งานชิ้นที่ 1 วาดภาพออกแบบความคิดสร้างสรรค์จากตัวเลข 1-9  💝


    💘 งานชิ้นที่ 2 ตัดกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตแล้วนำมาต่อกันตามจินตนาการ 💘


    ปักพินโดย Lulu ใน Gif | สติกเกอร์, ภาพวาดรูปสัตว์, วอลเปเปอร์คำคม

    Learning Log 7 Friday 27th March 2020

    รวมพลคนรักณเดชน์ #476 [กระทู้ร่วมกันเพื่อกรี๊ดณเดชน์] " เธอคือลม ...
    Learning Log 7
    Friday 27th March 2020

    📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙

    👉  วันนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้เรียนกันผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM เราเรียนในเรื่อง "ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์"

    🍧 ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 🍧

                   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) หมายถึง ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยาม การกำหนดตัวแปร การทดลอง การวิเคราะห์ และแปรผลข้อมูล การสรุปผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

    🍍 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 🍍

     1.   ทักษะการสังเกต

     2.   ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

     3.   ทักษะการจำแนกประเภท

     4.   ทักษะการวัด

     5.   ทักษะการใช้ตัวเลข

     6.   ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล

     7.   ทักษะการพยากรณ์

     8.   ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา


    🌻 แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 🌻

    1. ให้การยอมรับผลงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
    2. สนับสนุนแนวความคิดใหม่
    3. สนับสนุนให้นักเรียนได้ชมการสาธิตและได้ทำการทดลองด้วยตนเอง
    4. กำหนดให้นักเรียนทำงานในลักษณะที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
    5. สนับสนุนงานโครงการหรืองานวิจัยที่มีลักษณะที่เป็นความคิดสร้างสรรค์
    6. จัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบสืบเสาะหาความรู้
    7. จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกการใช้ความคิด จากภาพปริศนาทางวิทยาศาสตร์
    8. ผู้สอนจะต้องคิดสร้างสรรค์วิธีการสอนด้วยตนเอง
    9. เปิดโอกาสให้นักเรียนเริ่มและรับผิดชอบในการพิจารณาหัวข้อการเรียนที่นักเรียนสนใจและปรารถนาที่จะเรียน
    10. ไม่เน้นงานที่เป็นทีมมาเกินไป
    11. สนับสนุนการผลิตหรือการปรับปรุงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
    12. แสดงผลงานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งผลิตโดยนักเรียนอื่นให้นักเรียนในชั้นได้ทราบ
    13. ส่งเสริมการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์หลายๆรูปแบบ เช่นการทดลองศิลปะ และการประพันธ์ เป็นต้น
    14. ส่งเสริมการสืบเสาะหาความรู้ การคิดค้น และการประดิษฐ์สิ่งใหม่
    15. ปรับปรุงช่วงเวลาในการอภิปรายปัญหาต่างๆ ในชั้นเรียนให้เหมาะสม


       🎃 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 🎃

    • ให้เด็กสังเกตสิ่งที่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนอน แล้วเดินออกมาบอกครูและครุไม่ควรคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำหรือให้เด็กฝึกสังเกต โดยถามว่าตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร
    • สร้างความชัดเจนและมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคน ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนรู้ได้เร็วหรือช้า ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องตื่นเต้นและน่าสนุก
    • ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์กับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองสำคัญยิ่งที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ เช่น บอกว่ากิจกรรมที่เด็กสนใจเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไรและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมแก่เด็ก
    • ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ โดยครูเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิต เด็ก ๆ คิดว่าต้นไม้ต้องการอะไรเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโต
    • สร้างความมั่นใจว่าตนเองมีค่า มีความสามารถ และฝึกให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น สังเกตว่าทำไมไม้จึงลอยน้ำ สร้างความรู้สึกอยากค้นพบและอยากหาเหตุผล

      🎅 บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 🎅 
    • หาข้อมูลว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เบื้องต้นแค่ไหน
    • เตรียมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
    • จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    • แนะนำวัสดุ-อุปกรณ์วิทยาศาตร์ เพื่อให้เด็กสนใจ
    • ส่งเสริมการสำรวจค้นคว้าเพื่อนำไปสู้การค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
    • สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้อื่น ๆ
    • สรุปความโดยยอมรับความเห็นของเด็ก ๆ ฝึกให้เด็กเก็บข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยการวาด การบอกเล่า ให้เด็กมีบทบาทในการริเริ่มวางแผนกับเพื่อน

      🎯 บทบาทของผู้ปกครองกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 🎯
    • ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
    • สร้างความมั่นใจในตนเองให้กับเด็ก
    • ใช้คำถามกับเด็กและส่งเสริมให้เด้กตั้งคำถาม
    • มีส่วนร่วมในการทดลองหรือทำกิจกรรมวิทยาศาตร์กับเด็ก ๆ เช่น การทำอาหาร การปลูกต้นไม้ เพื่อให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง รู้จักการจดบันทึก
    • พาเด็กไปเที่ยวหรือทัศนศึกษาเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวางและหลากหลาย
    • ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ คิดหาคำตอบได้ด้วยตนเอง
    👉 จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาจับคู่กันเพื่อสร้างกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พร้อมบอกว่ากิจกรรมนั้นส่งเสริมความคิดมร้างสรรค์ทางด้านใด และส่งเสริมอย่างไรบ้าง


    🍬 กิจกรรมวิทยาศาสตร์ 🍬

    ชื่อกิจกรรม “น้ำเดินได้”
    ความคิดรวบยอด 
                   สีและน้ำเดินทางผ่านตัวกลางนั่นคือกระดาษทิชชู ทำให้เกิดการผสมกันของสี
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อส่งเสริมทักษะด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์การจินตนาการการตั้งคำถามและการตอบ
             2. เพื่อฝึกทักษะในด้านการสังเกตและการจำแนกการผสมสีประเภทของสี
    สื่อและอุปกรณ์
                  1. สีผสมอาหาร 
                  2. แก้วพลาสติก 
                  3. น้ำ
    การจัดกิจกรรม 
                  1. นำแก้วที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาเรียงต่อกัน 
                  2. เทน้ำลงไปในแก้ว เทแก้วเว้นแก้ว 
                  3. นำสีผสมอาหารมาใส่ลงในแก้วที่ใส่น้ำไว้ นำกระดาษทิชชูมาม้วนทำเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างแก้วต่อที่ติดกัน
    การวัดประเมินผล
                  1. สังเกตจากการคิดและหาวิธีม้วนกระดาษทิชชู่เพื่อทำให้น้ำเดินทางได้ 
                  2. สังเกตจากความไวในการเดินทางของน้ำ 
                  3. สังเกตจากการเรียกชื่อกิจกรรมความจินตนาการของเด็กๆ 
                  4. สังเกตจากการอธิบายและตอบคำถาม

    สาระน่ารู้เกี่ยวกับภาษาไทย - สอนภาษาไทย





    Learning Log 6 Friday 20th March 2020

    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    Learning Log 6
    Friday 20th March 2020

    📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙

    👉 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้การเรียนการสอนภายในห้องเรียนต้องหยุดชะงัก อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเรียนและพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและพูดคุยในเนื้อหาด้านการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม ZOOM



    👉 จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศักษา 4 งาน โดยจับกลุ่ม กลุ่มละ3-4คน ดังนี้

    👻 นิทาน 👻

                   ในสวนดอกไม้ มี ผึ้งน้อย กำลัง บิน หา น้ำหวาน เป็นอาหาร พบ ดอกไม้ ที่สวยงาม มันจึง
    หยุดและ กินน้ำหวาน ของ ดอกไม้ อย่างมีความสุข
                   ในทุกๆเช้า ผึ้งน้อย จะ บิน ไปหา ดอกไม้ เพื่อ กินน้ำหวาน เป็นอาหาร

    🍒 คำคล้องจอง 🍒

         แสงไฟพราว วิบวับวิบวับ           แสงระยับ นั่นดวงดาว
    ท้องฟ้าสุก วับวาว                           ส่องแสงราว ทิพย์วิมาน
         เมฆขาวดุจ ตุ้มตุ้ย                      เนียนอุ้ยอุ้ย น่าอิงแอบ
    ตาหลับฝัน ใกล้ชิดแถบ                   เคลิ้มแอบแอบ เกือบหลับไป   

    🍤 ปริศนาคำทาย 🍤

    ปุ้มปุ้ยเป็นสิ่งมีชีวิต               ปุ้มปุ้ยคืออะไร?
    เพื่อนตอบว่า ปุ้มปุ้ยคือ ตะขาบ ฉันตอบว่าไม่ใช่ ปุ้มปุ้ยไม่ใช่ ตะขาบ
    ปุ้มปุ้ยมีสี่ขา                          ปุ้มปุ้ยคืออะไร?
    เพื่อนตอบว่าปุ้มปุ้ยคือจิ้งเหลนฉันตอบว่าไม่ใช่ ปุ้มปุ้ยไม่ใช่ จิ้งเหลน
    ปุ้มปุ้ยมีสี่ขา ร้อง แป๋นแป๋น  ปุ้มปุ้ยคืออะไร? 
    เพื่อนตอบว่าปุ้มปุ้ยคือ ช้าง เพื่อนเก่งที่สุดเลย ปุ้มปุ้ย คือ ช้าง

    🍊 กิจกรรมส่งเสริมการฟัง 🍊


    กติกาการสั่งซื้อสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นเกาหลี : Inspired by LnwShop.com





    Learning Log 5 Monday 9th March 2020

    เปิดแล้ว❀╰☆╮*.:。✿。.:* บริการหาของ TS2 TS3 TS4 *.:。✿。.:*╰☆╮❀
    Learning Log 5
    Monday 9th March 2020


    📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙

    👉 อาจารย์ให้นักศึกษาเขียน"ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยได้ทำ"ตั้งแต่ที่ผ่านมาจากอดีต

    🎀 ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยทำ 🎀
    1. วาดภาพตามจินตนาการ
    2. ออกแบบชุกตุ๊กตากระดาษ
    3. สวนดอกไม้หน้าบ้าน
    4. ตกแต่งห้องนอน
    5. ออกแบบลายเล็บ
    6. ตกแต่งกำแพงบ้าน

    👉 กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นักศึกษาลากเส้นจากจุดนึงไปอีกจุดนึงตามความคิดจินตนาการ และระบายในช่องวางที่เกิดจากการลากเส้น




    👉 กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพต่อเติมจากตัวแบบที่มีอยู่ สร้างสรรค์จากสิ่งที่กำหนดมาให้อยู่แล้วให้สมบูรณ์



    👉กิจกรรมที่ 4 อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบลายผ้า(มีข้อกำหนดคือใช้สีได้เพีง 3 สีเท่านั้น)



    👉 กิจกรรมที่ 5 อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คนเพื่อออกแบบท่าทางประกอบเพลง "ปฐมวัยมาแล้ว" เป็นท่าทางแบบ Body Percussion และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอท่าทางที่ออกแบบ


    รูปภาพ สติกเกอร์ โดย Titachot Titachotnimit ใน Cartoon *_* | ความ ...

    Learning Log 11 Friday 24 April 2020

    Learning Log 11 Friday 24 April 2020 📌Knowledge gained 📒📕📗📘📙 💫 บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 💫 📢...